วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นวัตกรรมการศึกษา

www.winny2488.blogspot.com
ชื่อนวัตกรรม  วงล้อหรรษา




วงล้อหรรษา
Best   Practice
การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้วงล้อหรรษา
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
ชื่อผลงาน    การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้วงล้อหรรษา
      สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
ชื่อผู้เสนอ   นางมณีวรรณ  เจริญชัย  ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านห้วยย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต ๑
                              โทร.  ๐๘๖-๒๒๐๓๘๙๖
ประเภทผลงานด้านจัดการเรียนร่วม
-          £   ด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนร่วม
-          £   ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนดีเด่น
-          R   ด้านสื่อ นวัตกรรม
-          £   ด้านงานวิจัย
นวัตกรรม วงล้อหรรษา
ลักษณะของวงล้อหรรษา


๑.  รูปทรงน่าสนใจ  กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้  อยากเห็น  อยากสัมผัส
๒.  ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก  “เด็กใช้ได้  ผู้ใหญ่ใช้ดี
๓.  มีความปลอดภัย  ไม่เป็นอันตรายต่อผู้หยิบใช้
๔.  มีความคงทนแข็งแรงพอประมาณ
๕.  เรียนรู้จากง่ายไปหายาก
๖.  เมื่อนำไปใช้เกิดทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่าน  ด้านการเขียน  การคิดวิเคราะห์มีเหตุมีผล
กิจกรรมการใช้วงล้อหรรษา
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการใช้วงล้อ ได้แก่


๑.  วงล้อหรรษา
๒.  กระดาษแบบฝึกเขียนที่สามารถลบได้
๓.  ปากกาไวท์บอร์ด
๔.  แบบฝึก



กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
๑.  ฝึกให้นักเรียนอ่านแจกลูกสะกดคำ  คำศัพท์ง่าย ๆ  บนวงล้อทีละคำ  จนนักเรียนอ่านได้คล่อง
๒.  ฝึกเขียนคำศัพท์ลงบนกระดานฝึกเขียน  จนนักเรียนเขียนได้ถูกต้อง
๓.  เมื่อนักเรียนอ่าน-เขียนคำศัพท์ในวงล้อได้แล้วหมุนวงล้อฝึกอ่านเรียงคำเป็นประโยค  ให้คำศัพท์เรียงเป็นแนวเดียวกัน  ก็สามารถอ่านประโยคได้ถูกต้อง  ตามส่วนประกอบของประโยค  มี  ประธาน  กริยา  กรรม 
๔.  ให้นักเรียนฝึกแต่งประโยคเขียนลงบนกระดานฝึกเขียน  เมื่อเห็นว่านักเรียนเขียนได้แล้ว  จึงให้เขียนลงในแบบฝึก  เก็บรวบรวมไว้เป็นชิ้นงานรายบุคคล  เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาด้านการอ่าน  การเขียน  ของนักเรียนต่อไป
๕.  ให้นักเรียนฝึกแต่งประโยค  จากวงล้อที่ยากขึ้น  เพื่อให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ประโยคที่เกิดขึ้น  ถึงความสมบูรณ์  ความเหมาะสมและมีความคิดสร้างสรรค์ของประโยคที่ปรากฏบนวงล้อ  แล้วเขียนลงในแบบฝึกที่ครูแจกให้เก็บไว้เป็นชิ้นงาน
๖.  เพื่อเป็นการต่อยอดทางความคิดให้นักเรียนนำประโยคที่ได้จากวงล้อเขียนผูกเป็นเรื่องราวตามจินตนาการของแต่ละคนต่อไป

ผลที่เกิดจากการใช้วงล้อหรรษา
๑.  อ่าน-เขียน  คำศัพท์ได้ถูกต้อง(ภาพ)
๒.  อ่าน-เขียน  ประโยคได้ถูกต้อง(ภาพ)
๓.  อ่านคิดวิเคราะห์ความถูกต้องเหมาะสมของประโยคได้(ภาพ)
๔.  สามารถนำประโยคที่ได้จากวงล้อมาเขียนผูกเป็นเรื่องราวตามจินตนาการได้(ภาพ)
๕.  ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาไทย(ภาพ)
๖.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น(ภาพ)
ปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยยาง  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  นักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้มีจำนวนลดน้อยลง  จึงถือได้ว่านวัตกรรมวงล้อหรรษานี้ช่วยพัฒนาทักษะด้านการอ่าน  การเขียน  การคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี(ภาพ)





                                                                             

นวัตกรรมการศึกษา (งานกลุ่ม)

จัดทำโดย
1. นางสุทธีกานต์   วงศ์วรรณ       56561802032
2. นางวัฒนา  คำโสมศรี             56561802038
3. นางสาวอาภาพร  วังแก้ว          56561802026
4. นางวาสนา   เปลี่ยนเอก          56561802045
5. นางสุทธิ   วันดีราช                56561802035         
6. นางจันทร์หอม  โว้วงษ์            56561802046

สาขา บริหารการศึกษา

เสนอ
รศ.ดร.วิเชียร    ศรีพระจันทร์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา  ETI 6301
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร 
ภาคเรียนที่ 2/2557
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา


วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นวัตกรรมการศึกษา งานกลุ่ม

ชื่อนวัตกรรม  วงล้อหรรษา


วงล้อหรรษา
Best   Practice
การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้วงล้อหรรษา
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
ชื่อผลงาน    การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้วงล้อหรรษา
      สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้
ชื่อผู้เสนอ   นางมณีวรรณ  เจริญชัย  ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านห้วยย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต ๑
                              โทร.  ๐๘๖-๒๒๐๓๘๙๖
ประเภทผลงานด้านจัดการเรียนร่วม
-          £   ด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนร่วม
-          £   ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนดีเด่น
-          R   ด้านสื่อ นวัตกรรม
-          £   ด้านงานวิจัย
นวัตกรรม “วงล้อหรรษา”
ลักษณะของวงล้อหรรษา

๑.  รูปทรงน่าสนใจ  กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้  อยากเห็น  อยากสัมผัส
๒.  ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก  “เด็กใช้ได้  ผู้ใหญ่ใช้ดี”
๓.  มีความปลอดภัย  ไม่เป็นอันตรายต่อผู้หยิบใช้
๔.  มีความคงทนแข็งแรงพอประมาณ
๕.  เรียนรู้จากง่ายไปหายาก
๖.  เมื่อนำไปใช้เกิดทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่าน  ด้านการเขียน  การคิดวิเคราะห์มีเหตุมีผล
กิจกรรมการใช้วงล้อหรรษา
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการใช้วงล้อ ได้แก่

๑.  วงล้อหรรษา
๒.  กระดาษแบบฝึกเขียนที่สามารถลบได้
๓.  ปากกาไวท์บอร์ด
๔.  แบบฝึก
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
๑.  ฝึกให้นักเรียนอ่านแจกลูกสะกดคำ  คำศัพท์ง่าย ๆ  บนวงล้อทีละคำ  จนนักเรียนอ่านได้คล่อง(ภาพ)
๒.  ฝึกเขียนคำศัพท์ลงบนกระดานฝึกเขียน  จนนักเรียนเขียนได้ถูกต้อง
๓.  เมื่อนักเรียนอ่าน-เขียนคำศัพท์ในวงล้อได้แล้วหมุนวงล้อฝึกอ่านเรียงคำเป็นประโยค  ให้คำศัพท์เรียงเป็นแนวเดียวกัน  ก็สามารถอ่านประโยคได้ถูกต้อง  ตามส่วนประกอบของประโยค  มี  ประธาน  กริยา  กรรม (ภาพ)
๔.  ให้นักเรียนฝึกแต่งประโยคเขียนลงบนกระดานฝึกเขียน  เมื่อเห็นว่านักเรียนเขียนได้แล้ว  จึงให้เขียนลงในแบบฝึก  เก็บรวบรวมไว้เป็นชิ้นงานรายบุคคล  เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาด้านการอ่าน  การเขียน  ของนักเรียนต่อไป(ภาพ)
๕.  ให้นักเรียนฝึกแต่งประโยค  จากวงล้อที่ยากขึ้น  เพื่อให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ประโยคที่เกิดขึ้น  ถึงความสมบูรณ์  ความเหมาะสมและมีความคิดสร้างสรรค์ของประโยคที่ปรากฏบนวงล้อ  แล้วเขียนลงในแบบฝึกที่ครูแจกให้เก็บไว้เป็นชิ้นงาน(ภาพ)
๖.  เพื่อเป็นการต่อยอดทางความคิดให้นักเรียนนำประโยคที่ได้จากวงล้อเขียนผูกเป็นเรื่องราวตามจินตนาการของแต่ละคนต่อไป(ภาพ)
ผลที่เกิดจากการใช้วงล้อหรรษา
 ๑.  อ่าน-เขียน  คำศัพท์ได้ถูกต้อง(ภาพ)
๒.  อ่าน-เขียน  ประโยคได้ถูกต้อง(ภาพ)
๓.  อ่านคิดวิเคราะห์ความถูกต้องเหมาะสมของประโยคได้(ภาพ)


๔.  สามารถนำประโยคที่ได้จากวงล้อมาเขียนผูกเป็นเรื่องราวตามจินตนาการได้(ภาพ)
๕.  ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาไทย(ภาพ)
๖.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น(ภาพ)
ปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยยาง  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  นักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้มีจำนวนลดน้อยลง  จึงถือได้ว่านวัตกรรมวงล้อหรรษานี้ช่วยพัฒนาทักษะด้านการอ่าน  การเขียน  การคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี(ภาพ)